วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันปีใหม่


วันปีใหม่




ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ 
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ


สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ 



เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่ 
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495

วันคริสต์มาส


วันคริสต์มาส

คริสต์มาส วันคริสต์มาส ประวัติวันคริสต์มาส ซานตาครอส เพลงคริสต์มาส เรื่องราววันคริสต์มาส ความเป็นมาวันคริสต์มาส ต้นคริสต์มาส
อ้างอิงจาก http://www.zabzaa.com/event/christmas.htm
คำว่า คริสต์มาส ภาษาอังกฤษเขียนว่า Christmas ดังนั้นอย่าลืม “ต์” อยู่ที่คำว่า คริสต์ (Christ) ไม่ใช่คำว่า “มาส” (Mas) Christmas มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ.1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส แห่งโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ โดยตั้งแต่ปีค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริย เทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปีค.ศ.64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปีค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย สำหรับองค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาสมีความเป็นมาเช่นกัน เริ่มที่คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ “เพลง” ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย สำหรับ “ซานตาคลอส” เซนต์นิโคลัสแห่งเมืองมีรา สมัยศตวรรษที่ 4 ได้รับการขนานนามให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุง เงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ปิดท้ายที่ต้นคริสต์มาส หรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน ต้องย้อนไปศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมามาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก
คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณี สำคัญที่สุด ที่ชาวคริสต์ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสาร โบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพร คนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส
ต้นคริสต์มาส
ในสมัยโบราณ “ต้นคริสต์มาส” หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบ ผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า (ปฐก.3:1-6) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์แสดงละครที่ หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาส และเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง เพื่อประดับฉาก แสดงถึงบาปกำเนิดของอาดัมและเอวา ต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ ที่หาง่ายที่สุด ในประเทศ เหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้น กลายเป็นการเล่นเหมือนลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนา ซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดาย ที่ไม่มีโอกาส ดูละครสนุกๆ แบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ล ขนมและของขวัญอย่างที่เห็นอยู่ ทุกวันนี้ …..นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต (ปฐก.2:9) ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของพระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น
ซานตาครอส
ซานตาคลอส เป็นจุดเด่นหรือสัญลักษณ์ ที่เด็กและผู้คนนิยมมากที่สุด ในเทศกาลคริสต์มาส แต่แท้ที่จริงแล้ว ซานตาคลอส แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย ชื่อซานตาคลอส มาจากชื่อนักบุญนิโคลาส ซึ่งเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือ เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเด็กๆ นักบุญองค์นี้ เป็นสังฆราชของไมรา (อยู่ในประเทศตุรกี ปัจจุบัน) มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 4 เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่ง อพยพไปอยู่ในสหรัฐ ก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ คือ ฉลองนักบุญนิโคลาส ในวันที่ 6 ธันวาคม ซึ่งหมายถึง นักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ ที่อพยพมา ก็รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้าง เพื่อรับของขวัญ ประเพณีนี้ จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และแพร่หลายไปในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลง บางอย่างคือ ชื่อนักบุญนิโคลาส ก็เปลี่ยนเป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราช ซึ่งเป็นนักบุญ องค์นั้น ก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วน ใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นพาหนะ มีกวาง เรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟ ของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้น อันที่จริง ซานตาคลอสเป็นรูปแบบที่น่ารัก เหมาะสำหรับเป็นนิยายให้เด็กๆ เชื่อ แต่อาจจะทำให้คนทั่วไปหันมาสนใจ ให้ความสำคัญในตัวนิยายนี้ แทนการบังเกิดของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเทศกาลคริสต์มาสนี้
อื่นๆ
การให้ของขวัญในวันคริสต์มาส เป็นธรรมเนียมนี้ เริ่มกับชาวโรมที่เคยให้ของขวัญแก่เพื่อนในวันขึ้นปีใหม่ (มักจะเป็นผลไม้ ขนม หรือทองคำ) ต่อมาชาวอังกฤษถือ “วันกลอง” (ในวันที่ 26 ธันวาคม) เป็นวันที่ศิษยาภิบาลเคยเปิด “กลองทาน” ในโบสถ์ และแจกเงินให้สมาชิกที่ยากจน ต่อมาชาว อังกฤษก็ให้ของขวัญแก่พวกคนใช้ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในวันนั้นด้วย ในทวีปยุโรป เด็กๆ มัก จะเข้าใจว่า พระกุมารเยซูเป็นผู้นำของขวัญมาให้เขา (แท้จริงแล้วพ่อแม่เป็นผู้ที่ให้ต่างหาก) แต่เด็กที่สหรัฐอเมริกามักจะคิดว่า “ซานตาคลอส” เป็นผู้ให้
คืนก่อนวันคริสต์มาส หรือคริสต์มาสอีฟ จะมีงานแครอลลิ่ง ซึ่งจะมีเด็กๆ ไปร้องเพลงตามบ้าน ในคืนวันคริสต์มาส ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ จะมารวมตัวกันที่โบสถ์เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นการแสดง ร้องเพลง
เพลงคริสต์มาส เพลงวันคริสต์มาส
เพลงคริสต์มาส เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้น มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่ง ร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิวัฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวันเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจ จะแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ หลังจากแต่งเสร็จ ก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก


วันรัฐธรรมมูญ


วันรัฐธรรมมูญ



รัฐธรรมนูญ

ความหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

ความเป็นมา
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
๑. พระมหากษัตริย์

๒. สภาผู้แทนราษฎร
๓. คณะกรรมการราษฎร

๔. ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ้

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ


วันพ่อแห่งชาติ 2555


ประวัติ วันพ่อ 2555 
ประวัติวันพ่อ วันพ่อแห่งชาติ 2555
5 ธันวา วันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อ เนื่องจากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบ แทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น 'วันพ่อแห่งชาติ' ด้วย พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ อีกทั้งยังทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและ พระราชธิดาที่ทรงรักใคร่ห่วงใย ตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน และพระเจ้าหลานเธอทุก ๆ พระองค์ต่างซาบซึ้ง ในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น 'พ่อ' ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระ เมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระโอรสองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออร์เบินณ์ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซสท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงมีพระเชษฐาธิราช (พี่ชาย) และพระเชษฐภคินี (พี่สาว) 2 พระองค์คือ 1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 2. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8)
วันพ่อ 2555

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ทรงขึ้นครองราชเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงค์สิกิติ์ กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนารถ) ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ คือ
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระราชกรณียกิจของพระองค์


 พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภาคตลอดปี โดยได้เสด็จประทับแรมที่พระตำหนัก ตามภาคต่าง ๆ เพื่อจะได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของประชาชน และหาทางแก้ไขต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดโครงการ เช่น โครงการพัฒนาที่ดินทำกินเพื่อให้ราษฎรมีที่ทำมาหากิน โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ การทำฝนเทียมเพื่อแก้ปัญหาฝนแล้ง การประมง การเลี้ยงสัตว์ การตั้งสหกรณ์ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมทหาร ตำรวจและอาสาสมัครในจังหวัดต่าง ๆ ตลอดจนเขตที่มีภัย อันตราย รวมทั้งผู้บาดเจ็บจากการป้องกันประเทศตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด นอกจากนั้นยังทรงโปรดให้มีหน่วยแพทย์พระราชทาน เพื่อให้การรักษาพยาบาลราษฎรในชนบท เช่น ตรวจสุขภาพ ปลูกฝี ฉีดยา เป็นต้น ถ้าราษฎรคนใดเจ็บป่วยเรื้อรังก็ทรงรับเป็นคนไข้ส่วนพระองค์ ส่งมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ ทรงโปรดให้มีการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาในยามที่ราษฎรได้รับความทุกข์ยากจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ วาตภัย หรือจากผู้ก่อการร้าย 
5 ธันวา วันพ่อแห่งชาติ

โดยพระองค์ทรงพระราชทานแนวทางแก้ไข รวมถึงเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค อาหาร ตลอดจนที่อยู่อาศัยแก่ราษฎรที่เดือดร้อนอีกด้วย อีกทั้งยังทรงส่งเสริมการศึกษา โดยได้ทรงพระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์ ตั้งกองทุน 'ภูมิพล' พระราชทานแก่นิสิตนักศึกษาที่เรียนดี รูปสวย comment glitter emoticonทรงริเริ่มให้จัดทำสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชนขึ้น เพื่อให้เด็กแต่ละวัยสามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังเสด็จพระราชดำเนินไปพระราช ทานปริญญาบัตรที่จบการศึกษาในมหาลัยต่าง ๆ ด้วย ทรงอุปถัมภ์และบำรุงศาสนาทุกศาสนา ทรงทะนุบำรุงวัดวา อารามต่าง ๆ พร้อมทั้งเสด็จขึ้นบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางศาสนาอยู่เสมอด้วยพระ ราชกรณียกิจที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์แก่ราษฎรทั้งสิ้น ดังนั้นในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุก ๆ ปี สถานที่ราชการโรงเรียนและบริษัทต่าง ๆ จะหยุด 1 วัน เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


กิจกรรม

กิจกรรม ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในทุก ๆ ปี จะมีการประดับธงชาติในทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน บริษัท บ้านเรือนเพื่อถวายพระพรให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน และยังมีการทำความสะอาดแม่น้ำลำคลอง ถนน โรงพยาบาล และประดับรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไว้ที่หน้าบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ


วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง


ลอยกระทง เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน ในปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันพุทธที่ 28 พฤศจิกายน 2555
ประเพณีลอยกระทง มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และพม่า ก็มีการลอยกระทงคล้ายๆ กับบ้านเรา จะต่างกันบ้าง ก็คงเป็นเรื่องรายละเอียด พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น แม้แต่ในบ้านเราเอง การลอยกระทง ก็มาจากความเชื่อที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้รวบรวมมาบอกเล่าให้ทราบกันดังต่อไปนี้
ทำไมถึงลอยกระทง การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา
ลอยกระทง 2555

นอกจากนี้ ลอยกระทง ก็ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อบูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป ส่วนบางท้องที่ ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย
พระยาอนุมานราชธน ได้สันนิษฐานว่า ต้นเหตุแห่งการลอยกระทง อาจมีมูลฐานเป็นไปได้ว่า การลอยกระทงเป็นคติของชนชาติที่ประกอบกสิกรรม ซึ่งต้องอาศัยน้ำเป็นสำคัญ เมื่อพืชพันธุ์ธัญชาติงอกงามดี และเป็นเวลาที่น้ำเจิ่งนองพอดี ก็ทำกระทงลอยไปตามกระแสน้ำไหล เพื่อขอบคุณแม่คงคา หรือเทพเจ้าที่ประทานน้ำมาให้ความอุดมสมบูรณ์ เหตุนี้ จึงได้ลอยกระทงในฤดูกาลน้ำมาก และเมื่อเสร็จแล้ว จึงเล่นรื่นเริงด้วยความยินดี เท่ากับเป็นการสมโภชการงานที่ได้กระทำว่า ได้ลุล่วงและรอดมาจนเห็นผลแล้ว ท่านว่าการที่ชาวบ้านบอกว่า การลอยกระทงเป็นการขอขมาลาโทษ และขอบคุณต่อแม่คงคา ก็คงมีเค้าในทำนองเดียวกับการที่ชาติต่างๆ แต่ดึกดำบรรพ์ได้แสดงความยินดี ที่พืชผลเก็บเกี่ยวได้ จึงได้นำผลผลิตแรกที่ได้ ไปบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือ เพื่อขอบคุณที่บันดาลให้การเพาะปลูกของตนได้ผลดี รวมทั้งเลี้ยงดูผีที่อดอยาก และการเซ่นสรวงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ เสร็จแล้วก็มีการสมโภชเลี้ยงดูกันเอง
ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญแล้ว การวิตกทุกข์ร้อน เรื่องเพาะปลูกว่าจะไม่ได้ผลก็น้อยลงไป แต่ก็ยังทำการบวงสรวง ตามที่เคยทำมาจนเป็นประเพณี เพียงแต่ต่างก็แก้ให้เข้ากับคติลัทธิทางศาสนาที่ตนนับถือ เช่น มีการทำบุญสุนทานเพิ่มขึ้นในทางพุทธศาสนา เป็นต้น แต่ที่สุด ก็คงเหลือแต่การเล่นสนุกสนานรื่นเริงกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การลอยกระทงจึงมีอยู่ในชาติต่างๆทั่วไป และการที่ไปลอยน้ำ ก็คงเป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา ที่มนุษย์โดยธรรมดา มักจะเอาอะไรทิ้งไปในน้ำให้มันลอยไป
ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอก ของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่า เป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำ ตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลาย ตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียน นำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้น ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศพระสนมเอก ก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษ ที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็น ก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน” ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบัน


ตำนานและความเชื่อ จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า การลอยกระทง ในแต่ละท้องที่ก็มาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่างกัน บางแห่งก็มีตำนานเล่าขานกันต่อๆมา ซึ่งจะยกตัวอย่างบางเรื่องมาให้ทราบ ดังนี้
เรื่องแรก ว่ากันว่าการลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนั่นเอง กล่าวคือก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส (ข้าวกวนหุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำ ด้วยแรงสัตยาธิษฐาน และบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล แล้วก็จมไปถูกขนดหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล
พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว ครั้นแล้วเทพยดาทั้งหลายและพระยานาค ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของทุกปี นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอม และดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำ เพื่อไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำเสมอมา และต่อๆ มาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทง ตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ในเรื่องการประทับรอยพระบาทนี้ บางแห่งก็ว่า พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ เมื่อจะเสด็จกลับ พญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์จากพระองค์ไว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐาน ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกนาคทั้งหลาย จึงพากันบูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์ ต่อมาชาวพุทธได้ทราบเรื่องนี้ จึงได้ทำการบูชารอยพระบาทสืบต่อกันมา โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่กระทงลอยน้ำไป ส่วนที่ว่าลอยกระทงในวันเพ็ญ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ หลังการจำพรรษา 3 เดือน ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดานั้น ก็ด้วยวันดังกล่าว เหล่าทวยเทพและพุทธบริษัท พากันมารับเสด็จนับไม่ถ้วน พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา และเป็นวันที่พระพุทธองค์ได้เปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์ และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ คนจึงพากันลอยกระทง เพื่อเฉลิมฉลองรับเสด็จพระพุทธเจ้า
สำหรับคติที่ว่า การลอยกระทงตามประทีป เพื่อไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็ว่าเป็นเพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จออกบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาด ลอยไปในอากาศตามที่ทรงอธิษฐาน พระอินทร์จึงนำผอบแก้วมาบรรจุ แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ตามประทีป คือ การจุดประทีป หรือจุดไฟในตะเกียง /โคม หรือผาง-ถ้วยดินเผาเล็กๆ) ซึ่งทางเหนือของเรา มักจะมีการปล่อยโคมลอย หรือโคมไฟที่เรียกว่า ว่าวไฟ ขึ้นไปในอากาศเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีด้วย
เรื่องที่สอง ตามตำราพรหมณ์คณาจารย์กล่าวว่า พิธีลอยประทีปหรือตามประทีปนี้ แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม เป็นประเภทคู่กับลอยกระทง ก่อนจะลอยก็ต้องมีการตามประทีปก่อน ซึ่งตามคัมภีร์โบราณอินเดียเรียกว่า “ทีปาวลี” โดยกำหนดทางโหราศาสตร์ว่า เมื่อพระอาทิตย์ถึงราศีพิจิก พระจันทร์อยู่ราศีพฤกษ์เมื่อใด เมื่อนั้นเป็นเวลาตามประทีป และเมื่อบูชาไว้ครบกำหนดวันแล้ว ก็เอาโคมไฟนั้นไปลอยน้ำเสีย ต่อมาชาวพุทธเห็นเป็นเรื่องดี จึงแปลงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท และการรับเสด็จพระพุทธเจ้า ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยมักถือเอาเดือน 12 หรือเดือนยี่เป็งเป็นเกณฑ์ (ยี่เป็งคือเดือนสอง ตามการนับทางล้านนา ที่นับเดือนทางจันทรคติ เร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน)
เรื่องที่สาม เป็นเรื่องของพม่า เล่าว่า ครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระประสงค์จะสร้างเจดีย์ให้ครบ 84,000 องค์ แต่ถูกพระยามารคอยขัดขวางเสมอ พระองค์จึงไปขอให้พระอรหันต์องค์หนึ่ง คือ พระอุปคุตช่วยเหลือ พระอุปคุตจึงไปขอร้องพระยานาคเมืองบาดาลให้ช่วย พระยานาครับปาก และปราบพระยามารจนสำเร็จ พระเจ้าอโศกมหาราช จึงสร้างเจดีย์ได้สำเร็จสมพระประสงค์ ตั้งแต่นั้นมา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 12 คนทั้งหลายก็จะทำพิธีลอยกระทง เพื่อบูชาคุณพระยานาค เรื่องนี้ บางแห่งก็ว่า พระยานาค ก็คือพระอุปคุตที่อยู่ที่สะดือทะเล และมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงปราบมารได้ และพระอุปคุตนี้ เป็นที่นับถือของชาวพม่า และชาวพายัพของไทยมาก
เรื่องที่สี่ เกิดจากความเชื่อแต่ครั้งโบราณในล้านนาว่า เกิดอหิวาต์ระบาด ที่อาณาจักรหริภุญชัย ทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่ไม่ตายจึงอพยพไปอยู่เมืองสะเทิม และหงสาวดีเป็นเวลา 6 ปี บางคนก็มีครอบครัวอยู่ที่นั่น ครั้นเมื่ออหิวาต์ได้สงบลงแล้ว บางส่วนจึงอพยพกลับ และเมื่อถึงวันครบรอบที่ได้อพยพไป ก็ได้จัดธูปเทียนสักการะ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคดังกล่าวใส่ สะเพา ( อ่านว่า “ สะ - เปา หมายถึง สำเภาหรือกระทง ) ล่องตามลำน้ำ เพื่อระลึกถึงญาติที่มีอยู่ในเมืองหงสาวดี ซึ่งการลอยกระทงดังกล่าว จะทำในวันยี่เพง คือ เพ็ญเดือนสิบสอง เรียกกันว่า การลอยโขมด แต่มิได้ทำทั่วไปในล้านนา ส่วนใหญ่เทศกาลยี่เพงนี้ ชาวล้านนาจะมีพิธีตั้งธัมม์หลวง หรือการเทศน์คัมภีร์ขนาดยาวอย่างเทศน์มหาชาติ และมีการจุดประทีปโคมไฟอย่างกว้างขวางมากกว่า (การลอยกระทง ที่ทางโบราณล้านนาเรียกว่า ลอยโขมดนี้ คำว่า “ โขมด อ่านว่า ขะ-โหมด เป็นชื่อผีป่า ชอบออกหากินกลางคืน และมีไฟพะเหนียงเห็นเป็นระยะๆ คล้ายผีกระสือ ดังนั้น จึงเรียกเอาตามลักษณะกระทง ที่จุดเทียนลอยในน้ำ เห็นเงาสะท้อนวับๆ แวมๆ คล้ายผีโขมดว่า ลอยโขมด ดังกล่าว)
รื่องที่ห้า กล่าวกันว่าในประเทศจีนสมัยก่อน ทางตอนเหนือ เมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมเสมอ บางปีน้ำท่วมจนชาวบ้านตายนับเป็นแสนๆ และหาศพไม่ได้ก็มี ราษฎรจึงจัดกระทงใส่อาหารลอยน้ำไป เพื่อเซ่นไหว้ผีเหล่านั้นเป็นงานประจำปี ส่วนที่ลอยในตอนกลางคืน ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะต้องการความขรึม และขมุกขมัวให้เห็นขลัง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีๆสางๆ และผีก็ไม่ชอบปรากฏตัวในตอนกลางวัน การจุดเทียนก็เพราะหนทางไปเมืองผีมันมืด จึงต้องจุดให้แสงสว่าง เพื่อให้ผีกลับไปสะดวก ในภาษาจีนเรียกการลอยกระทงว่า ปล่อยโคมน้ำ (ปั่งจุ๊ยเต็ง) ซึ่งตรงกับของไทยว่า ลอยโคม จากเรื่องข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า การลอยกระทง ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความกตัญญู ระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อมนุษย์ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า พระแม่คงคา และบรรพชน เป็นต้น และแสดงความกตเวที (ตอบแทนคุณ) ด้วยการเคารพบูชาด้วยเครื่องสักการะต่างๆ โดยเฉพาะการบูชาพระพุทธเจ้า หรือรอยพระพุทธบาท ถือได้ว่าเป็นคติธรรมอย่างหนึ่ง ที่บอกเป็นนัยให้พุทธศาสนิกชน ได้เจริญรอยตามพระบาทของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทั้งปวงนั่นเอง
ประเพณีลอยกระทง นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีคุณค่า ในเรื่องการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้ว ประเพณีนี้ยังมีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสานาด้วย เช่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทำให้ชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดงาน หรือในบางท้องที่ที่มีการทำบุญ ก็ถือว่ามีส่วนช่วยสืบทอดพระศาสนา และในหลายๆ แห่งก็ถือเป็นโอกาสดีในการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแม่น้ำลำคลองไปด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ลอยกระทงออนไลน์ ลอยกระทงในเน็ต สำหรับชาวกรุงเทพฯ และพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง เพื่อลดขยะที่จะเกิดขึ้นซึ่งจะยิ่งทำให้การระบายน้ำช้าลง

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา
วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
          วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า"ปวารณา"แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกัน ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ "ตักบาตรเทโว" คำว่า "เทโว" ย่อมาจาก"เทโวโรหน" แปลว่าการเสด็จจากเทวโลกการตักบาตรเทโว จึงเป็นการระลึกถึงวันที่ พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรด พระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศล เนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทย ก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ ที่สมมติว่าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เท่านั้น
กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ
ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"
ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป



การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชน มักจะจัดเครื่องสักการะเ ช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่ เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

           แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษา ชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียน และอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง
          แม้การปวารณาจะเป็นเรื่องระหว่างพระสงฆ์ด้วยกัน แต่การออกพรรษาก็เป็นวาระสำคัญ อีกวาระหนึ่งที่ชาวบ้านจะได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน โดยในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ มีประเพณีทำบุญ ตักบาตร ที่เรียกกันว่า ทำบุญตักบาตรเทโว หรือเรียกเต็มๆ ว่า ตักบาตรเมโวโรหนะ สืบเนื่องจากความเชื่อตามตำนานที่ว่าวันนี้เป็นวันคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกหลังจากที่ได้เสด็จกลับจากการไปโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์บางวัดอาจจัดพิธีทำบุญตักบาตรธรรมดา แต่บางวัดก็จัดเป็น งานใหญ่โต เสร็จจากการทำบุญตักบาตร พุทธศาสนิกชนจะไปฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล

วันปิยะมหาราช



พระราชประวัติ

                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพในวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับ เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ณ พระตำหนัก ตึกด้านหลังองค์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชการที่ 4)  กับสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี พระองค์ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีทั้งด้านอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี วิชาการสงคราม และการปกครอง ทั้งยังทรงใฝ่พระทัย ศึกษาพระธรรมวินัย เมื่อมีพระชนมายุ 15 พรรษาทรงได้รับเลื่อนยศขึ้นเป็น กรมขุนพินิจประชานาถ ต่อมา สมเด็จพระราชบิดา ประชวรสวรรคต ด้วยโรคไข้ป่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิจประชานาถจึงได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2411 ขณะนั้นพระองค์ทรงมีชนมายุย่างเข้า16 พรรษาทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
    ตลอดระยะเวลา 42  ปีที่ทรงครองราชย์ ได้ทรงพัฒนาสยามประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศทุกวิถีทางอาทิเช่น ด้านการปกครอง การศึกษา การสาธารณูปโภค การต่างประเทศ และ  เศรษฐกิจ เนื่องจากทรงเอาพระทัยใส่ในความเป็นอยู่ของประชาราษฎร ด้วยการเสด็จออกไปตรวจราชการ พบปะประชาชน ข้าราชการเสมอๆ  นอกจากนั้นทรงเสด็จไปต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย ตลอดจนถึงยุโรปในหลายประเทศ ทำให้ประเทศไทยได้เป็นที่รู้จักยอมรับและของนานาประเทศ

                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416  ในพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงมีพระมเหสีและเจ้าจอมรวม 92  พระองค์ ทรงมีพระโอรสและพระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 77 พระองค์  สำหรับพระมเหสีที่สำคัญได้แก่ 
               1. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตนพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์แรก) หรือ สมเด็จพระนางเรือล่ม สิ้นพระชนม์เพราะเรือร่ม ขณะกำลังทรงพระครรภ์ 5 เดือนพร้อมกับพระธิดาที่มีพระชนมายุเพียง 2 
2. สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (อัครมเหสีองค์ที่ 2) พระองค์ก็คือสมเด็จย่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน
3. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงเป็นพระชนนี ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่

                         พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระปรีชาสามารถด้านวรรณกรรม ทั้งกวีและนักแต่งหนังสือ พร้อมทั้งมีความสามารถแต่งโครง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร้อยแก้ว  รัชกาลที่ 5 ทรงมีผลงานพระราชนิพนธ์ เช่น  พระราชพิธี 12 เดือน ไกลบ้าน พระราชวิจารณ์ เงาะป่า ลิลิตนิทราชาคริต เสด็จประพาสต้น
กาพย์เห่เรือ ประชุมโคลงสุภาษิต เป็นต้น กวีในรัชสมัยนี้อาทิเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระยาศรีสุนทรโวหาร และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชาพร ฯลฯ
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวรพระวักกะ (ไต) พิการ วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระองค์ได้เสด็จสวรรคต รวมพระชนอายุ 57 พรรษา ทรงเสวยราชย์ 42 ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสุดคณานับทั้งประโยชน์ สุข ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ พระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักยิ่งของราษฎร
พระราชกรณียกิจที่สำด้านการปกครอง : เกิดการปฏิรูประเบียบวิธีปกครองให้ทันสมัย ดังนี้
 1.  ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภา คือสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาและคำคิดเห็นต่างๆ และอีกสภาคือ สภาองคมนตรี ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์และปฏิบัติราชการต่างๆ ตามพระราชดำริ
 2. ตั้งกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง เพื่อให้การบริหารส่วนราชการสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและปริมาณของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น
 3. ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑล
 4. ทรงปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลให้ทันสมัยและขจัดสิทธิสภาพนอกอาณาเขต มีกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบอย่างแท้จริง ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาซึ่งถือเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย ทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายอีกด้วย
 5. ให้จัดการทหารตามแบบแผนของยุโรป และวางกำหนดการเกณฑ์ทหารเข้าเป็นทหาร แทนการใช้แรงงานบังคับไพร่ตามประเพณีเดิม ทรงจัดตั้งโรงเรียนการทหาร คือ โรงเรียนรายร้อยพระจุลจอมเกล้าขึ้นและ จัดตั้งตำรวจภูธร ตำรวจนครบาล อีกด้วย

     6.  การเลิกทาส  พระองค์ทรงใช้วิธีการอย่างละมุนละม่อมในการเลิกทาส มิให้ทั้งนายและตัวทาสเองได้รับผลเสียและไม่พึงพอใจ ทรงดำเนินการเลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยพระองค์ทรงเริ่มจากการจัดระเบียบสังคมเสียใหม่ให้มีการใช้แรงงานจ้าง ทหารประจำการหรือทหารอาชีพแทนการเกณฑ์แรงงาน มีการตราพระราชบัญญัติทหารหลายฉบับ และประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 โดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ 18 - 20 ปีต้องเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารและประจำการมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี การประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารนี้ นับเป็นการยกเลิกระบบไพร่หรือการเลิกทาสอย่างเป็นทางการ ไพร่จึงมีสถานะเป็นคนสามัญ เป็นแรงงานอิสระที่มีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในฐานะมนุษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การเลิกทาสได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2417 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2448 จึงเลิกระบบทาสได้สำเร็จ และได้ออกเป็นพระราชบัญญัติทาส รศ. 128
 เป็นเวลานานกว่าสามสิบปี พระองค์ทรงพระอุตสาหะจัดการในเรื่องนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ดำเนินการได้เรียบร้อย โดยมิได้เสียเลือดเนื้อหรือเกิดการเดือดร้อนประการใด พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ย่อมยังประโยชน์ให้แก่ชาวไทยและประเทศชาติเป็นอเนกประการ

ด้านการศึกษา : พระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงทรงปฏิรูปการศึกษาโดยให้วัดร่วมมือกับรัฐจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนความรู้อย่างเป็นระบบแบบแผนที่ทันสมัย คือให้มีสถานที่เล่าเรียน มีครูสอนตามเวลาที่กำหนด และให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นพระบรมมหาราชวัง มีเป้าหมายเพื่อ การเรียน การสอนในการฝึกหัดกุลบุตรของบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นสูงที่ถวายตัวเพื่อรับราชการโรงเรียนเหล่านี้ได้แก่ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ใน พ.ศ. 2427 ทรงได้จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกที่วัดมหรรณพาราม และในเวลาต่อมาก็ได้ทรงตั้ง กรมศึกษาธิการ และกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการ) ตามลำดับ ทำให้การศึกษาขยายสามารถขยายไปทั่วราชอาณาจัก ทำให้ประชนชนมีการศึกษามากขึ้น
 ด้านการสาธารณสุข : พระองค์ทรงนำวิทยาการด้านการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาปรับใช้ดำเนินการ ปรับปรุงการแพทย์ด้านต่างๆ เช่น การจัดตั้งสถานพยาบาล การผลิตบุคลากรทางการแพทย์ การผลิตยา การป้องกันโรคระบาด รวมทั้งการจัดองค์กรให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในด้านการสาธารณสุข
มีพระราชดำริจะจัดตั้งโรงพยาบาล ให้ทันสมัยเหมือนในต่างประเทศ กำหนดสถานที่ก่อสร้างคือบริเวณพระราชวัง  ต่อมาพระราชทานนามว่า “โรงศิริราชพยาบาล ” นับเป็นโรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของประเทศ และได้ตั้งกรมพยาบาลขึ้นในปีเดียวกันนั้นใน พ.ศ. 2429 ต่อมาในพ.ศ. 2432 โปรดให้ตั้ง โรงเรียนสอนวิชาแพทย์ ขึ้นวิชาที่ตั้งใจสอนเป็นสำคัญคือ วิชาศัลยกรรมมี หมอจอร์จ แมก ฟาร์แลนด์ ( George Mc. Farland ) เป็นผู้สอน
เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งที่ได้ทรงจัดทำขึ้นคือ กฏหมายลงโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการอนามัยของประชาชน เช่น ความผิดในการปลอมปนเครื่องอาหาร เครื่องยา การทิ้งของโสโครกในเขตชุมชน การขายสุราให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี และออกประกาศห้ามการสูบฝิ่น และการผสมฝิ่นเป็นยาในพระราชอาณาจักร ออก พระราชบัญญัติกำหนดโทษผู้ทำฝิ่นเถื่อน และในที่สุดได้ทรงยกเลิกโรงฝิ่นในกรุงเทพฯ กว่า 500โรง ในพ.ศ. 2453 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ทรงเล็งเห็นสุขภาพอนามัยประชาชนซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญอย่างยิ่งในการปฏิรูปบ้านเมืองอีกด้วย
 ด้านศาสนา : ทรงโปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ร.ศ.121นับเป็นพระราชบัญญัติ
ปกครองฉบับแรกของคณะสงฆ์ของไทย เพื่อให้การปกครองสงฆ์เป็นไปอย่างมีระเบียบ กำหนดให้สมเด็จพระสังราชเป็นประมุขและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดทางฝ่ายสงฆ์ พร้อมทั้งกำหนดให้มีมหาเถรสมาคม เป็นองค์การปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์อีกด้วย นอกจากนี้ ทรงโปรดให้จัดพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกขึ้นแทนการจารึกลงในใบลาน นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและของโลกที่ได้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยระบบการพิมพ์สมัยใหม่ เมื่อพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้วได้พระราชทานไปตามวัดและห้องสมุด และให้มีงานฉลองพร้อมกับงานพระราชพิธีรัชฎาภิเษก เนื่องในโอกาสทรงเสวยราชย์ครบ 25 ปีอีกด้วย
 ด้านเศรษฐกิจ : ทรงยกเลิกการเก็บภาษีแบบเก่า ปรับปรุงระบบเก็บภาษีใหม่โดยทรงจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็นสำนักงานกลาง ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงการคลัง เมื่อ พ.ศ.2435 ทรงทำนุบำรุงการทำมาหากินของราษฎร เช่น จัดตั้งกรมทดน้ำ เมื่อ พ.ศ. 2425 เพื่อช่วยให้การทำนาได้ผลดียิ่งขึ้น ยังมีการจัดตั้งกรมป่าขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2439 ทรงโปรดให้ทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อรักษาดุลภาพและความมั่น
  ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร : ในปี พ.ศ. 2426 ทรงจัดตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2433 ทรงให้สร้างทางรถไฟเป็นครั้งแรก เพื่อส่งเสริมให้การค้าและเศรษฐกิจขยายตัวมากยิ่งขึ้น
ทางรถไฟสายแรก คือเส้นทางระหว่าง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา  สายต่อ ๆ ไปที่โปรดให้สร้างขึ้นในภายหลังคือ สายเพชรบุรี สายฉะเชิงเทรา สายเหนือเปิดใช้ถึงชุมทางบ้านดารา จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้สัมปทานเดินรถรางและรถไฟในกรุงเทพ ฯ สมุทรปราการ กับรถไฟในแขวงพระพุทธบาท ตลอดจนจัดการเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพ ฯ  ต่อจากนั้นก็ได้มีการสร้างทางรถไฟไปยังภูมิภาคต่างๆ  นอกจากนี้ทรงให้ตัดถนนขึ้นหลายสายเช่น ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ทรงให้ตั้งบริษัทรถรางไทย จัดการเดินรถรางขึ้นในพระนครเพื่อให้ประชาชนได้เดินทางไปมาสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และสร้างสะพานข้ามคลองเช่น สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานมัฑวานรังสรรค์ เป็น
ด้านการต่างประเทศ : พระองค์ทรงเสด็จเยือนต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินเดีย เป็นต้น การเสด็จต่างประเทศครั้งสำคัญได้แก่การเสด็จยุโรปสองครั้งคือ ครั้งที่แรก ในปี พ.ศ. 2440 ทรงใช้เวลานานถึง 9 เดือนในการเสด็จครั้งนี้ เสด็จไปเยี่ยมซาร์ นิโคลาสที่ 2 จักพรรดิแห่งรัสเซีย  และเสด็จไปอีกหลายประเทศในยุโรป ทรงได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติเป็นอย่างดี ครั้งที่สอง ในปี 2450 ได้เสด็จเยือนยุโรปอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ทรงไปเพื่อพักผ่อนพระราชอิริยาบถและรักษาพระองค์ตามคำแนะนำของแพทย์  ในระหว่างที่เยือนยุโรปทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ “ไกลบ้าน ”  ในรัชกาลนี้ได้ทรงเริ่มแต่งตั้ง อัครราชทูตประจำในประเทศต่างๆ ทำให้มีประสิทธิภาพทางด้านการทูตมาก

วันปิยมหาราช หรือ วันปิยะมหาราช

 
 วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"
 
พระราชประวัติ
 
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณี

วันปิยมหาราช หรือ วันปิยะมหาราช

 
 วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"
 
พระราชประวัติ
 
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณี
 
"ทรงเป็นสมเด็จพระปิโยรส ของสมเด็จพระบรมชนกนาถตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัย"
 
 เมื่อทรงเจริญพระชันษาสมควรแก่การศึกษา ได้ทรงพระอักษร และเริ่มเรียนในสำนักพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี ขัตติยราชนารี ผู้ทรงรอบรู้ศิลปวิทยาการหลายแขนง ตลอดจนโบราณราชประเพณี และได้ทรงศึกษาภาษาบาลี วิชาปืนไฟ มวยปล้ำ กระบี่กระบอง คชกรรม อัศวกรรม จากสำนักเจ้านายและขุนนางอื่นๆ ที่เป็นผู้ทรงความรู้อันสมควรแก่พระราชกุมาร สมเด็จพระราชบิดาผู้ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล ทรงตระหนักดีว่าวิชาการสมัยใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ แต่ยังไม่มีในภาษาไทย จึงทรงว่าจ้างครูสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระบรมราชโอรสด้วย แม้ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ท่านก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษตลอดเวลา นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เมื่อเสด็จต่างประเทศก็ตรัสภาษาอังกฤษได้ดี ส่วนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ราชประเพณี โบราณคดีทั้งปวงนั้น สมเด็จพระราชบิดาพระราชทานพระบรมราโชวาทฝึกสอนด้วยพระองค์เอง
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในจำนวนพระราชโอรส ธิดาทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ขณะพระชันษา ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาใน ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงกำกับราชการ ในกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า ในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตามเสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยปราคา ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิด ประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ และในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสู่ สวรรคตใน ในขณะซึ่งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ ปีกับ ๑๐ วัน ทั้งยังทรงประชวรด้วยไข้ป่าอย่างหนัก เกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ได้รับให้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ในวันเดียวกัน แต่ด้วยที่วัยพระองค์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาเมื่อวันพุธที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ และทรงลาผนวชใน วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ครั้งที่ สอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ ในปีต่อมาได้กระทำการสำคัญยิ่งใหญ่คือ การเลิกทาส พระองค์สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปโดยมิได้เกิดเหตุร้ายภายในขึ้นเยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ และทรงโปรดฯ ให้มีการตราพระราชบัญญัติเลิกทาส ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ นานถึง ๔๒ ปี ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารทุกพระองค์ ด้วยพระจริยวัตรและพระปรีชาสามารถอย่างเฉลียวฉลาด ของพระองค์ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงประเทศ โดยการวางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ตลอดเวลา ๔๒ ปี ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศไทยรุดหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ทรงพัฒนาฟันฝ่าอุปสรรค นานับประการ ทั้งต่อสู่กับการไล่ล่าเมืองขึ้นของบรรดาชาติมหาอำนาจ ในยุคนั้นมาได้ แม้จะเป็นการสูญเสียดินแดน ไปบางส่วน แต่พระองค์ทรงไว้ซึ่งความสุขุม พาประเทศชาติของพระองค์รอดพ้น จากการตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งสำหรับซีกโลกส่วนนี้ของโลก ที่ ประเทศสยามแห่งนี้มิได้ตกเป็นทาสใคร ด้วยสายพระเนตรมองไกลของพระองค์ ได้ทรงพัฒนานำความเจริญ ก้าวหน้า เร่งรัดในแขนงต่างๆ ทั้ง การพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน และความมั่นคงของบ้าน อีกทั้งพระองค์ยังทรงสนพระทัยถึงความเป็น อยู่ของประชาชน ทรงออกเยี่ยมประชาราษฎร์ อยู่เป็นเนืองนิจ พระองค์จึงเป็นที่จงรักภักดี ของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน
 
 การเสด็จยังต่างประเทศ เปรียบเสมือนเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงของต้นรัชกาล พระองค์ทรงเสด็จประพาส สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย และ หลายๆ ประเทศ ทรงเสด็จประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แนวทางความสัมพันธ์ด้วยการทูตของพระองค์ท่าน ทำให้เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วยุโรป ข้อพิพาท และปัญหาต่างๆ ก็ได้คลายเบาบางลง ความลึกซึ้งพระปรีชาของพระองค์ ได้ทำให้ปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องของชายแดน ไทย-อังกฤษ หรือกับฝรั่งเศส ได้ผ่อนคลายในที่สุด
 
 ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้ง กวี และ นักประพันธ์ ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิรยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์
 
"ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ
คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม"
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่ง เวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ได้เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสุดคณานับทั้งประโยชน์ สุข ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ พระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมา
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียน ชมเชย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิดพระนามนี้ถวาย
 
 วันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกๆ ปี ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ ถือเป็นวันแห่งการน้อมรำลึกถึงพระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระวันคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต เป็นวันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง ที่จะเทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน.
 

การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่

 
การเลิกระบบไพร
 
 คำว่า "ไพร่" คือ คำที่ใช้เรียกราษฎรสามัญทั้งหญิงและชายในสังคมมาแต่อดีต สถานะไพร่เกิดขึ้นจากความจำเป็นทางสังคมที่แรงงานมีความสำคัญ ทั้งทางเศรษฐกิจและเป็นกำลังให้กองทัพยามสงคราม รัฐไทยในสมัยก่อนจึงต้องมีนโยบายส่งเสริมให้คนเข้ามาตั้งบ้านเมือง และหาวิธีควบคุมกำลังคนเหล่านั้น ระบบการควบคุมคนไทยในสังคมไทยคือ "ระบบมูลนายไพร่ "
 
 สถานะของไพร่จึงเป็นสถานะที่ถูกพันธนาการไว้ด้วยระเบียบของรัฐ ไม่มีอิสระในชีวิตจนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ มีไพร่หลบหนีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า สถานะไพร่ เป็นแอกใหญ่ของสังคม ได้ทรงปลดภาระนี้ด้วยการจัดระเบียบสังคมเสียใหม่ให้มีการใช้แรงงานจ้าง ทหารประจำการหรือทหารอาชีพแทนการเกณฑ์แรงงาน* เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๔๒๕ มีการตราพระราชบัญญัติทหารหลายฉบับ ให้เป็นทหารสมัครก่อน จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงประกาศใช้ " พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ " เปลี่ยนจากทหารสมัครเป็นทหาร "เกณฑ์ " โดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ ๑๘ - ๒๐ ปีต้องเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารและประจำการมีกำหนดระยะเวลา ๒ ปี การประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารนี้ นับเป็นการยกเลิกระบบไพร่อย่างเป็นทางการ ไพร่จึงมีสถานะเป็นคนสามัญ เป็นแรงงานอิสระที่มีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในฐานะมนุษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
การเลิกทาส
 
 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบริหารราชการแผ่นดินโดยสิทธิขาด นับตั้งแต่ปี ๒๔๑๖ เป็นต้นมา พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไป และให้ประชาราษฎร์ได้อยู่เย็นเป็นสุขถ้วนหน้ากัน โดยทรงยึดหลักว่า ธรรมเนียมใดเป็นการเจริญ มีคุณประโยชน์เป็นยุติธรรมแล้ว ก็ทรงทำนุบำรุงให้วัฒนาการยิ่งขึ้นไป ธรรมเนียมใดไม่เป็นการเจริญแก่ประชาชน ไม่เป็นคุณประโยชน์ ไม่เป็นการยุติธรรมก็ทรงเลิกเสียนั่นคือการเลิกทาส ได้ทรงพิจารณาที่จะเลิกทาสด้วยการลดราคาค่าทาสลง จำนวนทาสค่อยลดลงโดยลำดับจนหมดไปทั้งพระราชอาณาเขต ทรงใช้วิธีการอย่างละมุนละม่อมในการเลิกทาส มิให้ทั้งนายและตัวทาสเองได้รับผลเสียและไม่พึงพอใจ ทรงดำเนินการเลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงเลิกระบบทาสได้สำเร็จลุล่วง และได้ออกเป็นพระราชบัญญัติทาส รศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๔๘)
 
 การเลิกทาสเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงพระอุตสาหะจัดการในเรื่องนี้เป็นเวลานานกว่าสามสิบปี จนบรรลุผลสมดังพระราชประสงค์ โดยมิได้ทรงท้อถอย ทรงรอบคอบ เห็นการณ์ไกลเป็นเลิศ พระองค์ทรงดำเนินการได้เรียบร้อย โดยมิได้เสียเลือดเนื้อหรือเกิดการเดือดร้อนประการใด เยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ย่อมยังประโยชน์ให้แก่ชาวไทยและประเทศชาติเป็นอเนกประการ
 
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์
www.wikipedia.org และ
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต

วันปิยมหาราช หรือ วันปิยะมหาราช

 
 วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"
 
พระราชประวัติ
 
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณี
 
"ทรงเป็นสมเด็จพระปิโยรส ของสมเด็จพระบรมชนกนาถตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัย"
 
 เมื่อทรงเจริญพระชันษาสมควรแก่การศึกษา ได้ทรงพระอักษร และเริ่มเรียนในสำนักพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี ขัตติยราชนารี ผู้ทรงรอบรู้ศิลปวิทยาการหลายแขนง ตลอดจนโบราณราชประเพณี และได้ทรงศึกษาภาษาบาลี วิชาปืนไฟ มวยปล้ำ กระบี่กระบอง คชกรรม อัศวกรรม จากสำนักเจ้านายและขุนนางอื่นๆ ที่เป็นผู้ทรงความรู้อันสมควรแก่พระราชกุมาร สมเด็จพระราชบิดาผู้ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล ทรงตระหนักดีว่าวิชาการสมัยใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ แต่ยังไม่มีในภาษาไทย จึงทรงว่าจ้างครูสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระบรมราชโอรสด้วย แม้ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ท่านก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษตลอดเวลา นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เมื่อเสด็จต่างประเทศก็ตรัสภาษาอังกฤษได้ดี ส่วนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ราชประเพณี โบราณคดีทั้งปวงนั้น สมเด็จพระราชบิดาพระราชทานพระบรมราโชวาทฝึกสอนด้วยพระองค์เอง
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในจำนวนพระราชโอรส ธิดาทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ขณะพระชันษา ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาใน ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงกำกับราชการ ในกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า ในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตามเสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยปราคา ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิด ประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ และในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสู่ สวรรคตใน ในขณะซึ่งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ ปีกับ ๑๐ วัน ทั้งยังทรงประชวรด้วยไข้ป่าอย่างหนัก เกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ได้รับให้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ในวันเดียวกัน แต่ด้วยที่วัยพระองค์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาเมื่อวันพุธที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ และทรงลาผนวชใน วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ครั้งที่ สอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ ในปีต่อมาได้กระทำการสำคัญยิ่งใหญ่คือ การเลิกทาส พระองค์สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปโดยมิได้เกิดเหตุร้ายภายในขึ้นเยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ และทรงโปรดฯ ให้มีการตราพระราชบัญญัติเลิกทาส ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ นานถึง ๔๒ ปี ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารทุกพระองค์ ด้วยพระจริยวัตรและพระปรีชาสามารถอย่างเฉลียวฉลาด ของพระองค์ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงประเทศ โดยการวางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ตลอดเวลา ๔๒ ปี ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศไทยรุดหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ทรงพัฒนาฟันฝ่าอุปสรรค นานับประการ ทั้งต่อสู่กับการไล่ล่าเมืองขึ้นของบรรดาชาติมหาอำนาจ ในยุคนั้นมาได้ แม้จะเป็นการสูญเสียดินแดน ไปบางส่วน แต่พระองค์ทรงไว้ซึ่งความสุขุม พาประเทศชาติของพระองค์รอดพ้น จากการตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งสำหรับซีกโลกส่วนนี้ของโลก ที่ ประเทศสยามแห่งนี้มิได้ตกเป็นทาสใคร ด้วยสายพระเนตรมองไกลของพระองค์ ได้ทรงพัฒนานำความเจริญ ก้าวหน้า เร่งรัดในแขนงต่างๆ ทั้ง การพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน และความมั่นคงของบ้าน อีกทั้งพระองค์ยังทรงสนพระทัยถึงความเป็น อยู่ของประชาชน ทรงออกเยี่ยมประชาราษฎร์ อยู่เป็นเนืองนิจ พระองค์จึงเป็นที่จงรักภักดี ของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน
 
 การเสด็จยังต่างประเทศ เปรียบเสมือนเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงของต้นรัชกาล พระองค์ทรงเสด็จประพาส สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย และ หลายๆ ประเทศ ทรงเสด็จประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แนวทางความสัมพันธ์ด้วยการทูตของพระองค์ท่าน ทำให้เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วยุโรป ข้อพิพาท และปัญหาต่างๆ ก็ได้คลายเบาบางลง ความลึกซึ้งพระปรีชาของพระองค์ ได้ทำให้ปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องของชายแดน ไทย-อังกฤษ หรือกับฝรั่งเศส ได้ผ่อนคลายในที่สุด
 
 ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้ง กวี และ นักประพันธ์ ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิรยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์
 
"ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ
คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม"
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่ง เวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ได้เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสุดคณานับทั้งประโยชน์ สุข ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ พระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมา
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียน ชมเชย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิดพระนามนี้ถวาย
 
 วันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกๆ ปี ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ ถือเป็นวันแห่งการน้อมรำลึกถึงพระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระวันคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต เป็นวันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง ที่จะเทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน.
 

การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่

 
การเลิกระบบไพร
 
 คำว่า "ไพร่" คือ คำที่ใช้เรียกราษฎรสามัญทั้งหญิงและชายในสังคมมาแต่อดีต สถานะไพร่เกิดขึ้นจากความจำเป็นทางสังคมที่แรงงานมีความสำคัญ ทั้งทางเศรษฐกิจและเป็นกำลังให้กองทัพยามสงคราม รัฐไทยในสมัยก่อนจึงต้องมีนโยบายส่งเสริมให้คนเข้ามาตั้งบ้านเมือง และหาวิธีควบคุมกำลังคนเหล่านั้น ระบบการควบคุมคนไทยในสังคมไทยคือ "ระบบมูลนายไพร่ "
 
 สถานะของไพร่จึงเป็นสถานะที่ถูกพันธนาการไว้ด้วยระเบียบของรัฐ ไม่มีอิสระในชีวิตจนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ มีไพร่หลบหนีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า สถานะไพร่ เป็นแอกใหญ่ของสังคม ได้ทรงปลดภาระนี้ด้วยการจัดระเบียบสังคมเสียใหม่ให้มีการใช้แรงงานจ้าง ทหารประจำการหรือทหารอาชีพแทนการเกณฑ์แรงงาน* เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๔๒๕ มีการตราพระราชบัญญัติทหารหลายฉบับ ให้เป็นทหารสมัครก่อน จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงประกาศใช้ " พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ " เปลี่ยนจากทหารสมัครเป็นทหาร "เกณฑ์ " โดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ ๑๘ - ๒๐ ปีต้องเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารและประจำการมีกำหนดระยะเวลา ๒ ปี การประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารนี้ นับเป็นการยกเลิกระบบไพร่อย่างเป็นทางการ ไพร่จึงมีสถานะเป็นคนสามัญ เป็นแรงงานอิสระที่มีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในฐานะมนุษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
การเลิกทาส
 
 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบริหารราชการแผ่นดินโดยสิทธิขาด นับตั้งแต่ปี ๒๔๑๖ เป็นต้นมา พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไป และให้ประชาราษฎร์ได้อยู่เย็นเป็นสุขถ้วนหน้ากัน โดยทรงยึดหลักว่า ธรรมเนียมใดเป็นการเจริญ มีคุณประโยชน์เป็นยุติธรรมแล้ว ก็ทรงทำนุบำรุงให้วัฒนาการยิ่งขึ้นไป ธรรมเนียมใดไม่เป็นการเจริญแก่ประชาชน ไม่เป็นคุณประโยชน์ ไม่เป็นการยุติธรรมก็ทรงเลิกเสียนั่นคือการเลิกทาส ได้ทรงพิจารณาที่จะเลิกทาสด้วยการลดราคาค่าทาสลง จำนวนทาสค่อยลดลงโดยลำดับจนหมดไปทั้งพระราชอาณาเขต ทรงใช้วิธีการอย่างละมุนละม่อมในการเลิกทาส มิให้ทั้งนายและตัวทาสเองได้รับผลเสียและไม่พึงพอใจ ทรงดำเนินการเลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงเลิกระบบทาสได้สำเร็จลุล่วง และได้ออกเป็นพระราชบัญญัติทาส รศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๔๘)
 
 การเลิกทาสเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงพระอุตสาหะจัดการในเรื่องนี้เป็นเวลานานกว่าสามสิบปี จนบรรลุผลสมดังพระราชประสงค์ โดยมิได้ทรงท้อถอย ทรงรอบคอบ เห็นการณ์ไกลเป็นเลิศ พระองค์ทรงดำเนินการได้เรียบร้อย โดยมิได้เสียเลือดเนื้อหรือเกิดการเดือดร้อนประการใด เยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ย่อมยังประโยชน์ให้แก่ชาวไทยและประเทศชาติเป็นอเนกประการ
 
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์
www.wikipedia.org และ
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต

วันปิยมหาราช หรือ วันปิยะมหาราช

 
 วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"
 
พระราชประวัติ
 
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณี
 
"ทรงเป็นสมเด็จพระปิโยรส ของสมเด็จพระบรมชนกนาถตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัย"
 
 เมื่อทรงเจริญพระชันษาสมควรแก่การศึกษา ได้ทรงพระอักษร และเริ่มเรียนในสำนักพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี ขัตติยราชนารี ผู้ทรงรอบรู้ศิลปวิทยาการหลายแขนง ตลอดจนโบราณราชประเพณี และได้ทรงศึกษาภาษาบาลี วิชาปืนไฟ มวยปล้ำ กระบี่กระบอง คชกรรม อัศวกรรม จากสำนักเจ้านายและขุนนางอื่นๆ ที่เป็นผู้ทรงความรู้อันสมควรแก่พระราชกุมาร สมเด็จพระราชบิดาผู้ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล ทรงตระหนักดีว่าวิชาการสมัยใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ แต่ยังไม่มีในภาษาไทย จึงทรงว่าจ้างครูสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระบรมราชโอรสด้วย แม้ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ท่านก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษตลอดเวลา นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เมื่อเสด็จต่างประเทศก็ตรัสภาษาอังกฤษได้ดี ส่วนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ราชประเพณี โบราณคดีทั้งปวงนั้น สมเด็จพระราชบิดาพระราชทานพระบรมราโชวาทฝึกสอนด้วยพระองค์เอง
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในจำนวนพระราชโอรส ธิดาทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ขณะพระชันษา ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาใน ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงกำกับราชการ ในกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า ในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตามเสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยปราคา ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิด ประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ และในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสู่ สวรรคตใน ในขณะซึ่งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ ปีกับ ๑๐ วัน ทั้งยังทรงประชวรด้วยไข้ป่าอย่างหนัก เกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ได้รับให้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ในวันเดียวกัน แต่ด้วยที่วัยพระองค์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาเมื่อวันพุธที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ และทรงลาผนวชใน วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ครั้งที่ สอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ ในปีต่อมาได้กระทำการสำคัญยิ่งใหญ่คือ การเลิกทาส พระองค์สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปโดยมิได้เกิดเหตุร้ายภายในขึ้นเยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ และทรงโปรดฯ ให้มีการตราพระราชบัญญัติเลิกทาส ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ นานถึง ๔๒ ปี ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารทุกพระองค์ ด้วยพระจริยวัตรและพระปรีชาสามารถอย่างเฉลียวฉลาด ของพระองค์ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงประเทศ โดยการวางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ตลอดเวลา ๔๒ ปี ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศไทยรุดหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ทรงพัฒนาฟันฝ่าอุปสรรค นานับประการ ทั้งต่อสู่กับการไล่ล่าเมืองขึ้นของบรรดาชาติมหาอำนาจ ในยุคนั้นมาได้ แม้จะเป็นการสูญเสียดินแดน ไปบางส่วน แต่พระองค์ทรงไว้ซึ่งความสุขุม พาประเทศชาติของพระองค์รอดพ้น จากการตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งสำหรับซีกโลกส่วนนี้ของโลก ที่ ประเทศสยามแห่งนี้มิได้ตกเป็นทาสใคร ด้วยสายพระเนตรมองไกลของพระองค์ ได้ทรงพัฒนานำความเจริญ ก้าวหน้า เร่งรัดในแขนงต่างๆ ทั้ง การพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน และความมั่นคงของบ้าน อีกทั้งพระองค์ยังทรงสนพระทัยถึงความเป็น อยู่ของประชาชน ทรงออกเยี่ยมประชาราษฎร์ อยู่เป็นเนืองนิจ พระองค์จึงเป็นที่จงรักภักดี ของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน
 
 การเสด็จยังต่างประเทศ เปรียบเสมือนเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงของต้นรัชกาล พระองค์ทรงเสด็จประพาส สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย และ หลายๆ ประเทศ ทรงเสด็จประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แนวทางความสัมพันธ์ด้วยการทูตของพระองค์ท่าน ทำให้เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วยุโรป ข้อพิพาท และปัญหาต่างๆ ก็ได้คลายเบาบางลง ความลึกซึ้งพระปรีชาของพระองค์ ได้ทำให้ปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องของชายแดน ไทย-อังกฤษ หรือกับฝรั่งเศส ได้ผ่อนคลายในที่สุด
 
 ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้ง กวี และ นักประพันธ์ ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิรยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์
 
"ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ
คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม"
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่ง เวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ได้เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสุดคณานับทั้งประโยชน์ สุข ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ พระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมา
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียน ชมเชย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิดพระนามนี้ถวาย
 
 วันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกๆ ปี ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ ถือเป็นวันแห่งการน้อมรำลึกถึงพระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระวันคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต เป็นวันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง ที่จะเทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน.
 

การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่

 
การเลิกระบบไพร
 
 คำว่า "ไพร่" คือ คำที่ใช้เรียกราษฎรสามัญทั้งหญิงและชายในสังคมมาแต่อดีต สถานะไพร่เกิดขึ้นจากความจำเป็นทางสังคมที่แรงงานมีความสำคัญ ทั้งทางเศรษฐกิจและเป็นกำลังให้กองทัพยามสงคราม รัฐไทยในสมัยก่อนจึงต้องมีนโยบายส่งเสริมให้คนเข้ามาตั้งบ้านเมือง และหาวิธีควบคุมกำลังคนเหล่านั้น ระบบการควบคุมคนไทยในสังคมไทยคือ "ระบบมูลนายไพร่ "
 
 สถานะของไพร่จึงเป็นสถานะที่ถูกพันธนาการไว้ด้วยระเบียบของรัฐ ไม่มีอิสระในชีวิตจนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ มีไพร่หลบหนีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า สถานะไพร่ เป็นแอกใหญ่ของสังคม ได้ทรงปลดภาระนี้ด้วยการจัดระเบียบสังคมเสียใหม่ให้มีการใช้แรงงานจ้าง ทหารประจำการหรือทหารอาชีพแทนการเกณฑ์แรงงาน* เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๔๒๕ มีการตราพระราชบัญญัติทหารหลายฉบับ ให้เป็นทหารสมัครก่อน จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงประกาศใช้ " พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ " เปลี่ยนจากทหารสมัครเป็นทหาร "เกณฑ์ " โดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ ๑๘ - ๒๐ ปีต้องเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารและประจำการมีกำหนดระยะเวลา ๒ ปี การประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารนี้ นับเป็นการยกเลิกระบบไพร่อย่างเป็นทางการ ไพร่จึงมีสถานะเป็นคนสามัญ เป็นแรงงานอิสระที่มีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในฐานะมนุษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
การเลิกทาส
 
 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบริหารราชการแผ่นดินโดยสิทธิขาด นับตั้งแต่ปี ๒๔๑๖ เป็นต้นมา พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไป และให้ประชาราษฎร์ได้อยู่เย็นเป็นสุขถ้วนหน้ากัน โดยทรงยึดหลักว่า ธรรมเนียมใดเป็นการเจริญ มีคุณประโยชน์เป็นยุติธรรมแล้ว ก็ทรงทำนุบำรุงให้วัฒนาการยิ่งขึ้นไป ธรรมเนียมใดไม่เป็นการเจริญแก่ประชาชน ไม่เป็นคุณประโยชน์ ไม่เป็นการยุติธรรมก็ทรงเลิกเสียนั่นคือการเลิกทาส ได้ทรงพิจารณาที่จะเลิกทาสด้วยการลดราคาค่าทาสลง จำนวนทาสค่อยลดลงโดยลำดับจนหมดไปทั้งพระราชอาณาเขต ทรงใช้วิธีการอย่างละมุนละม่อมในการเลิกทาส มิให้ทั้งนายและตัวทาสเองได้รับผลเสียและไม่พึงพอใจ ทรงดำเนินการเลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงเลิกระบบทาสได้สำเร็จลุล่วง และได้ออกเป็นพระราชบัญญัติทาส รศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๔๘)
 
 การเลิกทาสเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงพระอุตสาหะจัดการในเรื่องนี้เป็นเวลานานกว่าสามสิบปี จนบรรลุผลสมดังพระราชประสงค์ โดยมิได้ทรงท้อถอย ทรงรอบคอบ เห็นการณ์ไกลเป็นเลิศ พระองค์ทรงดำเนินการได้เรียบร้อย โดยมิได้เสียเลือดเนื้อหรือเกิดการเดือดร้อนประการใด เยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ย่อมยังประโยชน์ให้แก่ชาวไทยและประเทศชาติเป็นอเนกประการ
 
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์
www.wikipedia.org และ
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต
 

วันปิยมหาราช หรือ วันปิยะมหาราช

 
 วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"
 
พระราชประวัติ
 
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณี
 
"ทรงเป็นสมเด็จพระปิโยรส ของสมเด็จพระบรมชนกนาถตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัย"
 
 เมื่อทรงเจริญพระชันษาสมควรแก่การศึกษา ได้ทรงพระอักษร และเริ่มเรียนในสำนักพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี ขัตติยราชนารี ผู้ทรงรอบรู้ศิลปวิทยาการหลายแขนง ตลอดจนโบราณราชประเพณี และได้ทรงศึกษาภาษาบาลี วิชาปืนไฟ มวยปล้ำ กระบี่กระบอง คชกรรม อัศวกรรม จากสำนักเจ้านายและขุนนางอื่นๆ ที่เป็นผู้ทรงความรู้อันสมควรแก่พระราชกุมาร สมเด็จพระราชบิดาผู้ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล ทรงตระหนักดีว่าวิชาการสมัยใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ แต่ยังไม่มีในภาษาไทย จึงทรงว่าจ้างครูสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระบรมราชโอรสด้วย แม้ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ท่านก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษตลอดเวลา นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เมื่อเสด็จต่างประเทศก็ตรัสภาษาอังกฤษได้ดี ส่วนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ราชประเพณี โบราณคดีทั้งปวงนั้น สมเด็จพระราชบิดาพระราชทานพระบรมราโชวาทฝึกสอนด้วยพระองค์เอง
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในจำนวนพระราชโอรส ธิดาทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ขณะพระชันษา ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาใน ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงกำกับราชการ ในกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า ในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตามเสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยปราคา ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิด ประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ และในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสู่ สวรรคตใน ในขณะซึ่งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ ปีกับ ๑๐ วัน ทั้งยังทรงประชวรด้วยไข้ป่าอย่างหนัก เกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ได้รับให้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ในวันเดียวกัน แต่ด้วยที่วัยพระองค์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาเมื่อวันพุธที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ และทรงลาผนวชใน วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ครั้งที่ สอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ ในปีต่อมาได้กระทำการสำคัญยิ่งใหญ่คือ การเลิกทาส พระองค์สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปโดยมิได้เกิดเหตุร้ายภายในขึ้นเยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ และทรงโปรดฯ ให้มีการตราพระราชบัญญัติเลิกทาส ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ นานถึง ๔๒ ปี ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารทุกพระองค์ ด้วยพระจริยวัตรและพระปรีชาสามารถอย่างเฉลียวฉลาด ของพระองค์ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงประเทศ โดยการวางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ตลอดเวลา ๔๒ ปี ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศไทยรุดหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ทรงพัฒนาฟันฝ่าอุปสรรค นานับประการ ทั้งต่อสู่กับการไล่ล่าเมืองขึ้นของบรรดาชาติมหาอำนาจ ในยุคนั้นมาได้ แม้จะเป็นการสูญเสียดินแดน ไปบางส่วน แต่พระองค์ทรงไว้ซึ่งความสุขุม พาประเทศชาติของพระองค์รอดพ้น จากการตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งสำหรับซีกโลกส่วนนี้ของโลก ที่ ประเทศสยามแห่งนี้มิได้ตกเป็นทาสใคร ด้วยสายพระเนตรมองไกลของพระองค์ ได้ทรงพัฒนานำความเจริญ ก้าวหน้า เร่งรัดในแขนงต่างๆ ทั้ง การพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน และความมั่นคงของบ้าน อีกทั้งพระองค์ยังทรงสนพระทัยถึงความเป็น อยู่ของประชาชน ทรงออกเยี่ยมประชาราษฎร์ อยู่เป็นเนืองนิจ พระองค์จึงเป็นที่จงรักภักดี ของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน
 
 การเสด็จยังต่างประเทศ เปรียบเสมือนเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงของต้นรัชกาล พระองค์ทรงเสด็จประพาส สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย และ หลายๆ ประเทศ ทรงเสด็จประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แนวทางความสัมพันธ์ด้วยการทูตของพระองค์ท่าน ทำให้เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วยุโรป ข้อพิพาท และปัญหาต่างๆ ก็ได้คลายเบาบางลง ความลึกซึ้งพระปรีชาของพระองค์ ได้ทำให้ปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องของชายแดน ไทย-อังกฤษ หรือกับฝรั่งเศส ได้ผ่อนคลายในที่สุด
 
 ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้ง กวี และ นักประพันธ์ ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิรยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์
 
"ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ
คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม"
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่ง เวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ได้เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสุดคณานับทั้งประโยชน์ สุข ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ พระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมา
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียน ชมเชย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิดพระนามนี้ถวาย
 
 วันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกๆ ปี ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ ถือเป็นวันแห่งการน้อมรำลึกถึงพระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระวันคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต เป็นวันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง ที่จะเทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน.
 

การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่

 
การเลิกระบบไพร
 
 คำว่า "ไพร่" คือ คำที่ใช้เรียกราษฎรสามัญทั้งหญิงและชายในสังคมมาแต่อดีต สถานะไพร่เกิดขึ้นจากความจำเป็นทางสังคมที่แรงงานมีความสำคัญ ทั้งทางเศรษฐกิจและเป็นกำลังให้กองทัพยามสงคราม รัฐไทยในสมัยก่อนจึงต้องมีนโยบายส่งเสริมให้คนเข้ามาตั้งบ้านเมือง และหาวิธีควบคุมกำลังคนเหล่านั้น ระบบการควบคุมคนไทยในสังคมไทยคือ "ระบบมูลนายไพร่ "
 
 สถานะของไพร่จึงเป็นสถานะที่ถูกพันธนาการไว้ด้วยระเบียบของรัฐ ไม่มีอิสระในชีวิตจนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ มีไพร่หลบหนีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า สถานะไพร่ เป็นแอกใหญ่ของสังคม ได้ทรงปลดภาระนี้ด้วยการจัดระเบียบสังคมเสียใหม่ให้มีการใช้แรงงานจ้าง ทหารประจำการหรือทหารอาชีพแทนการเกณฑ์แรงงาน* เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๔๒๕ มีการตราพระราชบัญญัติทหารหลายฉบับ ให้เป็นทหารสมัครก่อน จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงประกาศใช้ " พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ " เปลี่ยนจากทหารสมัครเป็นทหาร "เกณฑ์ " โดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ ๑๘ - ๒๐ ปีต้องเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารและประจำการมีกำหนดระยะเวลา ๒ ปี การประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารนี้ นับเป็นการยกเลิกระบบไพร่อย่างเป็นทางการ ไพร่จึงมีสถานะเป็นคนสามัญ เป็นแรงงานอิสระที่มีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในฐานะมนุษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
การเลิกทาส
 
 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบริหารราชการแผ่นดินโดยสิทธิขาด นับตั้งแต่ปี ๒๔๑๖ เป็นต้นมา พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไป และให้ประชาราษฎร์ได้อยู่เย็นเป็นสุขถ้วนหน้ากัน โดยทรงยึดหลักว่า ธรรมเนียมใดเป็นการเจริญ มีคุณประโยชน์เป็นยุติธรรมแล้ว ก็ทรงทำนุบำรุงให้วัฒนาการยิ่งขึ้นไป ธรรมเนียมใดไม่เป็นการเจริญแก่ประชาชน ไม่เป็นคุณประโยชน์ ไม่เป็นการยุติธรรมก็ทรงเลิกเสียนั่นคือการเลิกทาส ได้ทรงพิจารณาที่จะเลิกทาสด้วยการลดราคาค่าทาสลง จำนวนทาสค่อยลดลงโดยลำดับจนหมดไปทั้งพระราชอาณาเขต ทรงใช้วิธีการอย่างละมุนละม่อมในการเลิกทาส มิให้ทั้งนายและตัวทาสเองได้รับผลเสียและไม่พึงพอใจ ทรงดำเนินการเลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงเลิกระบบทาสได้สำเร็จลุล่วง และได้ออกเป็นพระราชบัญญัติทาส รศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๔๘)
 
 การเลิกทาสเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงพระอุตสาหะจัดการในเรื่องนี้เป็นเวลานานกว่าสามสิบปี จนบรรลุผลสมดังพระราชประสงค์ โดยมิได้ทรงท้อถอย ทรงรอบคอบ เห็นการณ์ไกลเป็นเลิศ พระองค์ทรงดำเนินการได้เรียบร้อย โดยมิได้เสียเลือดเนื้อหรือเกิดการเดือดร้อนประการใด เยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ย่อมยังประโยชน์ให้แก่ชาวไทยและประเทศชาติเป็นอเนกประการ
 
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์
www.wikipedia.org และ
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต

วันปิยมหาราช หรือ วันปิยะมหาราช

 
 วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"
 
พระราชประวัติ
 
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณี
 
"ทรงเป็นสมเด็จพระปิโยรส ของสมเด็จพระบรมชนกนาถตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัย"
 
 เมื่อทรงเจริญพระชันษาสมควรแก่การศึกษา ได้ทรงพระอักษร และเริ่มเรียนในสำนักพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี ขัตติยราชนารี ผู้ทรงรอบรู้ศิลปวิทยาการหลายแขนง ตลอดจนโบราณราชประเพณี และได้ทรงศึกษาภาษาบาลี วิชาปืนไฟ มวยปล้ำ กระบี่กระบอง คชกรรม อัศวกรรม จากสำนักเจ้านายและขุนนางอื่นๆ ที่เป็นผู้ทรงความรู้อันสมควรแก่พระราชกุมาร สมเด็จพระราชบิดาผู้ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล ทรงตระหนักดีว่าวิชาการสมัยใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ แต่ยังไม่มีในภาษาไทย จึงทรงว่าจ้างครูสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระบรมราชโอรสด้วย แม้ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ท่านก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษตลอดเวลา นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เมื่อเสด็จต่างประเทศก็ตรัสภาษาอังกฤษได้ดี ส่วนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ราชประเพณี โบราณคดีทั้งปวงนั้น สมเด็จพระราชบิดาพระราชทานพระบรมราโชวาทฝึกสอนด้วยพระองค์เอง
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในจำนวนพระราชโอรส ธิดาทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ขณะพระชันษา ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาใน ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงกำกับราชการ ในกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า ในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตามเสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยปราคา ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิด ประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ และในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสู่ สวรรคตใน ในขณะซึ่งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ ปีกับ ๑๐ วัน ทั้งยังทรงประชวรด้วยไข้ป่าอย่างหนัก เกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ได้รับให้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ในวันเดียวกัน แต่ด้วยที่วัยพระองค์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาเมื่อวันพุธที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ และทรงลาผนวชใน วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ครั้งที่ สอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ ในปีต่อมาได้กระทำการสำคัญยิ่งใหญ่คือ การเลิกทาส พระองค์สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปโดยมิได้เกิดเหตุร้ายภายในขึ้นเยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ และทรงโปรดฯ ให้มีการตราพระราชบัญญัติเลิกทาส ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ นานถึง ๔๒ ปี ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารทุกพระองค์ ด้วยพระจริยวัตรและพระปรีชาสามารถอย่างเฉลียวฉลาด ของพระองค์ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงประเทศ โดยการวางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ตลอดเวลา ๔๒ ปี ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศไทยรุดหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ทรงพัฒนาฟันฝ่าอุปสรรค นานับประการ ทั้งต่อสู่กับการไล่ล่าเมืองขึ้นของบรรดาชาติมหาอำนาจ ในยุคนั้นมาได้ แม้จะเป็นการสูญเสียดินแดน ไปบางส่วน แต่พระองค์ทรงไว้ซึ่งความสุขุม พาประเทศชาติของพระองค์รอดพ้น จากการตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งสำหรับซีกโลกส่วนนี้ของโลก ที่ ประเทศสยามแห่งนี้มิได้ตกเป็นทาสใคร ด้วยสายพระเนตรมองไกลของพระองค์ ได้ทรงพัฒนานำความเจริญ ก้าวหน้า เร่งรัดในแขนงต่างๆ ทั้ง การพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน และความมั่นคงของบ้าน อีกทั้งพระองค์ยังทรงสนพระทัยถึงความเป็น อยู่ของประชาชน ทรงออกเยี่ยมประชาราษฎร์ อยู่เป็นเนืองนิจ พระองค์จึงเป็นที่จงรักภักดี ของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน
 
 การเสด็จยังต่างประเทศ เปรียบเสมือนเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงของต้นรัชกาล พระองค์ทรงเสด็จประพาส สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย และ หลายๆ ประเทศ ทรงเสด็จประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แนวทางความสัมพันธ์ด้วยการทูตของพระองค์ท่าน ทำให้เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วยุโรป ข้อพิพาท และปัญหาต่างๆ ก็ได้คลายเบาบางลง ความลึกซึ้งพระปรีชาของพระองค์ ได้ทำให้ปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องของชายแดน ไทย-อังกฤษ หรือกับฝรั่งเศส ได้ผ่อนคลายในที่สุด
 
 ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้ง กวี และ นักประพันธ์ ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิรยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์
 
"ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ
คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม"
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่ง เวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ได้เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสุดคณานับทั้งประโยชน์ สุข ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ พระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมา
 
 สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียน ชมเชย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิดพระนามนี้ถวาย
 
 วันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกๆ ปี ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ ถือเป็นวันแห่งการน้อมรำลึกถึงพระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระวันคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต เป็นวันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง ที่จะเทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน.
 

การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่

 
การเลิกระบบไพร
 
 คำว่า "ไพร่" คือ คำที่ใช้เรียกราษฎรสามัญทั้งหญิงและชายในสังคมมาแต่อดีต สถานะไพร่เกิดขึ้นจากความจำเป็นทางสังคมที่แรงงานมีความสำคัญ ทั้งทางเศรษฐกิจและเป็นกำลังให้กองทัพยามสงคราม รัฐไทยในสมัยก่อนจึงต้องมีนโยบายส่งเสริมให้คนเข้ามาตั้งบ้านเมือง และหาวิธีควบคุมกำลังคนเหล่านั้น ระบบการควบคุมคนไทยในสังคมไทยคือ "ระบบมูลนายไพร่ "
 
 สถานะของไพร่จึงเป็นสถานะที่ถูกพันธนาการไว้ด้วยระเบียบของรัฐ ไม่มีอิสระในชีวิตจนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ มีไพร่หลบหนีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก
 
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า สถานะไพร่ เป็นแอกใหญ่ของสังคม ได้ทรงปลดภาระนี้ด้วยการจัดระเบียบสังคมเสียใหม่ให้มีการใช้แรงงานจ้าง ทหารประจำการหรือทหารอาชีพแทนการเกณฑ์แรงงาน* เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๔๒๕ มีการตราพระราชบัญญัติทหารหลายฉบับ ให้เป็นทหารสมัครก่อน จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงประกาศใช้ " พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ " เปลี่ยนจากทหารสมัครเป็นทหาร "เกณฑ์ " โดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ ๑๘ - ๒๐ ปีต้องเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารและประจำการมีกำหนดระยะเวลา ๒ ปี การประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารนี้ นับเป็นการยกเลิกระบบไพร่อย่างเป็นทางการ ไพร่จึงมีสถานะเป็นคนสามัญ เป็นแรงงานอิสระที่มีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิในฐานะมนุษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
การเลิกทาส
 
 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบริหารราชการแผ่นดินโดยสิทธิขาด นับตั้งแต่ปี ๒๔๑๖ เป็นต้นมา พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้นไป และให้ประชาราษฎร์ได้อยู่เย็นเป็นสุขถ้วนหน้ากัน โดยทรงยึดหลักว่า ธรรมเนียมใดเป็นการเจริญ มีคุณประโยชน์เป็นยุติธรรมแล้ว ก็ทรงทำนุบำรุงให้วัฒนาการยิ่งขึ้นไป ธรรมเนียมใดไม่เป็นการเจริญแก่ประชาชน ไม่เป็นคุณประโยชน์ ไม่เป็นการยุติธรรมก็ทรงเลิกเสียนั่นคือการเลิกทาส ได้ทรงพิจารณาที่จะเลิกทาสด้วยการลดราคาค่าทาสลง จำนวนทาสค่อยลดลงโดยลำดับจนหมดไปทั้งพระราชอาณาเขต ทรงใช้วิธีการอย่างละมุนละม่อมในการเลิกทาส มิให้ทั้งนายและตัวทาสเองได้รับผลเสียและไม่พึงพอใจ ทรงดำเนินการเลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงเลิกระบบทาสได้สำเร็จลุล่วง และได้ออกเป็นพระราชบัญญัติทาส รศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๔๘)
 
 การเลิกทาสเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงพระอุตสาหะจัดการในเรื่องนี้เป็นเวลานานกว่าสามสิบปี จนบรรลุผลสมดังพระราชประสงค์ โดยมิได้ทรงท้อถอย ทรงรอบคอบ เห็นการณ์ไกลเป็นเลิศ พระองค์ทรงดำเนินการได้เรียบร้อย โดยมิได้เสียเลือดเนื้อหรือเกิดการเดือดร้อนประการใด เยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ย่อมยังประโยชน์ให้แก่ชาวไทยและประเทศชาติเป็นอเนกประการ
 
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์
www.wikipedia.org และ
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต