วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันปีใหม่


วันปีใหม่




ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ 
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ


สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ 



เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่ 
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495

วันคริสต์มาส


วันคริสต์มาส

คริสต์มาส วันคริสต์มาส ประวัติวันคริสต์มาส ซานตาครอส เพลงคริสต์มาส เรื่องราววันคริสต์มาส ความเป็นมาวันคริสต์มาส ต้นคริสต์มาส
อ้างอิงจาก http://www.zabzaa.com/event/christmas.htm
คำว่า คริสต์มาส ภาษาอังกฤษเขียนว่า Christmas ดังนั้นอย่าลืม “ต์” อยู่ที่คำว่า คริสต์ (Christ) ไม่ใช่คำว่า “มาส” (Mas) Christmas มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ.1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส แห่งโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ โดยตั้งแต่ปีค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริย เทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปีค.ศ.64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปีค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย สำหรับองค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาสมีความเป็นมาเช่นกัน เริ่มที่คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ “เพลง” ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย สำหรับ “ซานตาคลอส” เซนต์นิโคลัสแห่งเมืองมีรา สมัยศตวรรษที่ 4 ได้รับการขนานนามให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุง เงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ปิดท้ายที่ต้นคริสต์มาส หรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน ต้องย้อนไปศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมามาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก
คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณี สำคัญที่สุด ที่ชาวคริสต์ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสาร โบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพร คนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส
ต้นคริสต์มาส
ในสมัยโบราณ “ต้นคริสต์มาส” หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบ ผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า (ปฐก.3:1-6) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์แสดงละครที่ หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาส และเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง เพื่อประดับฉาก แสดงถึงบาปกำเนิดของอาดัมและเอวา ต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ ที่หาง่ายที่สุด ในประเทศ เหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้น กลายเป็นการเล่นเหมือนลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนา ซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดาย ที่ไม่มีโอกาส ดูละครสนุกๆ แบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ล ขนมและของขวัญอย่างที่เห็นอยู่ ทุกวันนี้ …..นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต (ปฐก.2:9) ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของพระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น
ซานตาครอส
ซานตาคลอส เป็นจุดเด่นหรือสัญลักษณ์ ที่เด็กและผู้คนนิยมมากที่สุด ในเทศกาลคริสต์มาส แต่แท้ที่จริงแล้ว ซานตาคลอส แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย ชื่อซานตาคลอส มาจากชื่อนักบุญนิโคลาส ซึ่งเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือ เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเด็กๆ นักบุญองค์นี้ เป็นสังฆราชของไมรา (อยู่ในประเทศตุรกี ปัจจุบัน) มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 4 เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่ง อพยพไปอยู่ในสหรัฐ ก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ คือ ฉลองนักบุญนิโคลาส ในวันที่ 6 ธันวาคม ซึ่งหมายถึง นักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ ที่อพยพมา ก็รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้าง เพื่อรับของขวัญ ประเพณีนี้ จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และแพร่หลายไปในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลง บางอย่างคือ ชื่อนักบุญนิโคลาส ก็เปลี่ยนเป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราช ซึ่งเป็นนักบุญ องค์นั้น ก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วน ใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นพาหนะ มีกวาง เรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟ ของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้น อันที่จริง ซานตาคลอสเป็นรูปแบบที่น่ารัก เหมาะสำหรับเป็นนิยายให้เด็กๆ เชื่อ แต่อาจจะทำให้คนทั่วไปหันมาสนใจ ให้ความสำคัญในตัวนิยายนี้ แทนการบังเกิดของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเทศกาลคริสต์มาสนี้
อื่นๆ
การให้ของขวัญในวันคริสต์มาส เป็นธรรมเนียมนี้ เริ่มกับชาวโรมที่เคยให้ของขวัญแก่เพื่อนในวันขึ้นปีใหม่ (มักจะเป็นผลไม้ ขนม หรือทองคำ) ต่อมาชาวอังกฤษถือ “วันกลอง” (ในวันที่ 26 ธันวาคม) เป็นวันที่ศิษยาภิบาลเคยเปิด “กลองทาน” ในโบสถ์ และแจกเงินให้สมาชิกที่ยากจน ต่อมาชาว อังกฤษก็ให้ของขวัญแก่พวกคนใช้ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในวันนั้นด้วย ในทวีปยุโรป เด็กๆ มัก จะเข้าใจว่า พระกุมารเยซูเป็นผู้นำของขวัญมาให้เขา (แท้จริงแล้วพ่อแม่เป็นผู้ที่ให้ต่างหาก) แต่เด็กที่สหรัฐอเมริกามักจะคิดว่า “ซานตาคลอส” เป็นผู้ให้
คืนก่อนวันคริสต์มาส หรือคริสต์มาสอีฟ จะมีงานแครอลลิ่ง ซึ่งจะมีเด็กๆ ไปร้องเพลงตามบ้าน ในคืนวันคริสต์มาส ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ จะมารวมตัวกันที่โบสถ์เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นการแสดง ร้องเพลง
เพลงคริสต์มาส เพลงวันคริสต์มาส
เพลงคริสต์มาส เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้น มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่ง ร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิวัฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวันเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจ จะแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ หลังจากแต่งเสร็จ ก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก


วันรัฐธรรมมูญ


วันรัฐธรรมมูญ



รัฐธรรมนูญ

ความหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

ความเป็นมา
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
๑. พระมหากษัตริย์

๒. สภาผู้แทนราษฎร
๓. คณะกรรมการราษฎร

๔. ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ้

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ


วันพ่อแห่งชาติ 2555


ประวัติ วันพ่อ 2555 
ประวัติวันพ่อ วันพ่อแห่งชาติ 2555
5 ธันวา วันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อ เนื่องจากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบ แทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น 'วันพ่อแห่งชาติ' ด้วย พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ อีกทั้งยังทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและ พระราชธิดาที่ทรงรักใคร่ห่วงใย ตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน และพระเจ้าหลานเธอทุก ๆ พระองค์ต่างซาบซึ้ง ในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น 'พ่อ' ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระ เมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระโอรสองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออร์เบินณ์ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซสท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงมีพระเชษฐาธิราช (พี่ชาย) และพระเชษฐภคินี (พี่สาว) 2 พระองค์คือ 1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 2. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8)
วันพ่อ 2555

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ทรงขึ้นครองราชเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงค์สิกิติ์ กิติยากร (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนารถ) ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ คือ
1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระราชกรณียกิจของพระองค์


 พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภาคตลอดปี โดยได้เสด็จประทับแรมที่พระตำหนัก ตามภาคต่าง ๆ เพื่อจะได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของประชาชน และหาทางแก้ไขต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดโครงการ เช่น โครงการพัฒนาที่ดินทำกินเพื่อให้ราษฎรมีที่ทำมาหากิน โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ การทำฝนเทียมเพื่อแก้ปัญหาฝนแล้ง การประมง การเลี้ยงสัตว์ การตั้งสหกรณ์ เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเยี่ยมทหาร ตำรวจและอาสาสมัครในจังหวัดต่าง ๆ ตลอดจนเขตที่มีภัย อันตราย รวมทั้งผู้บาดเจ็บจากการป้องกันประเทศตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด นอกจากนั้นยังทรงโปรดให้มีหน่วยแพทย์พระราชทาน เพื่อให้การรักษาพยาบาลราษฎรในชนบท เช่น ตรวจสุขภาพ ปลูกฝี ฉีดยา เป็นต้น ถ้าราษฎรคนใดเจ็บป่วยเรื้อรังก็ทรงรับเป็นคนไข้ส่วนพระองค์ ส่งมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ ทรงโปรดให้มีการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาในยามที่ราษฎรได้รับความทุกข์ยากจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ วาตภัย หรือจากผู้ก่อการร้าย 
5 ธันวา วันพ่อแห่งชาติ

โดยพระองค์ทรงพระราชทานแนวทางแก้ไข รวมถึงเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค อาหาร ตลอดจนที่อยู่อาศัยแก่ราษฎรที่เดือดร้อนอีกด้วย อีกทั้งยังทรงส่งเสริมการศึกษา โดยได้ทรงพระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์ ตั้งกองทุน 'ภูมิพล' พระราชทานแก่นิสิตนักศึกษาที่เรียนดี รูปสวย comment glitter emoticonทรงริเริ่มให้จัดทำสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชนขึ้น เพื่อให้เด็กแต่ละวัยสามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังเสด็จพระราชดำเนินไปพระราช ทานปริญญาบัตรที่จบการศึกษาในมหาลัยต่าง ๆ ด้วย ทรงอุปถัมภ์และบำรุงศาสนาทุกศาสนา ทรงทะนุบำรุงวัดวา อารามต่าง ๆ พร้อมทั้งเสด็จขึ้นบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางศาสนาอยู่เสมอด้วยพระ ราชกรณียกิจที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์แก่ราษฎรทั้งสิ้น ดังนั้นในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุก ๆ ปี สถานที่ราชการโรงเรียนและบริษัทต่าง ๆ จะหยุด 1 วัน เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


กิจกรรม

กิจกรรม ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในทุก ๆ ปี จะมีการประดับธงชาติในทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน บริษัท บ้านเรือนเพื่อถวายพระพรให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน และยังมีการทำความสะอาดแม่น้ำลำคลอง ถนน โรงพยาบาล และประดับรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไว้ที่หน้าบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ